จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันอาทิตย์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

หน่วยที่ 4 บุคคลสำคัญ

บุคคลสำคัญ



พระยากัลยาณไมตรี เกิดเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๘ ที่มลรัฐเพนซิลวาเนีย สหรัฐอเมริกา สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และได้เป็นศาสตราจารย์วิชากฎหมายของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ ก่อนที่จะเข้ามารับราชการในประเทศไทยในตำแหน่งที่ปรึกษากระทรวงการต่างประเทศ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๖๖ ถึง พ.ศ. ๒๔๖๘
ดร.แซร์ มีบทบาทสำคัญในการปลดเปลื้องข้องผูกพันตามสนธิสัญญาเบาว์ริงที่ไทยทำไว้กับประเทศอังกฤษในสมัยรัชกาลที่ ๔ และสนธิสัญญาลักษณะเดียวกันที่ไทยทำไว้กับประเทศอื่น ๆ ซึ่งฝ่ายไทยเสียเปรียบมากในเรื่องที่คนในบังคับต่างชาติไม่ต้องขึ้นศาลไทย และไทยจะเก็บภาษีจากต่างประเทศเกินร้อยละ ๓ ไม่ได้ ประเทศไทยพยายามหาทางแก้ไขสนธิสัญญาเสียเปรียบนี้มาโดยตลอด ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ มาจนถึงสมัยรัชกาลที่ ๖ ปรากฏว่ามีเพียง ๒ ประเทศที่ยอมแก้ไขให้โดยยังมีข้อแม้บางประการ ได้แก่ สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศแรกที่ยอมแก้ไขใน พ.ศ. ๒๔๓๖ และญี่ปุ่นยอมแก้ไขใน พ.ศ. ๒๔๖๖






ดร.แดน บีช แบรดเลย์ ชาวไทยเรียกกันว่า หมอบรัดเลย์ หรือ ปลัดเล เป็นชาวนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา เกิดเมื่อ พ.ศ. ๒๓๔๕ หมดบรัดเลย์เดินทางเข้ามายังสยาม เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๘ โดยพักอาศัยอยู่กับมิชชันนารี ชื่อ จอห์นสัน ที่วัดเกาะ เมื่อเข้ามาอยู่เมืองไทย ในตอนแรกหมอบรัดเลย์เปิดโอสถศาลาขึ้นที่ข้างใต้วัดเกาะ รับรักษาโรคให้แก่ชาวบ้านแถวนั้น พร้อมทั้งสอนศาสนาคริสต์ให้แก่ชาวจีนที่อยู่ในเมืองไทยส่วนซาราห์ ภรรยาของหมอเป็นครูสอนภาษาอังกฤษ ต่อมาหมอบรัดเลย์ย้ายไปอยู่แถวโบสถ์วัดซางตาครูส ขยายกิจการจากรับรักษาโรคเป็นโรงพิมพ์ โดยรับพิมพ์หนังสือเกี่ยวกับศาสนาคริสต์แจก และพิมพ์ประกาศของทางราชการ เรื่องห้ามนำฝิ่นเข้ามาในประเทศสยาม เป็นฉบับแรก จำนวน ๙,๐๐๐ แผ่น เมื่อวันที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๓๘๒ อีกด้วย กิจการโรงพิมพ์นี้นับเป็นประโยชน์สำหรับคนไทยมาก เอกสารทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญซึ่งคนรุ่นหลังได้ศึกษาส่วนหนึ่งก็มาจากโรงพิมพ์ของหมอบรัดเลย์













พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฏฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็น รัชกาลที่ 4 แห่งราชจักรีวงศ์ ทรงมีพระนามเดิมว่า "เจ้าฟ้ามงกุฎ สมมติเทวาวงศ์พงษ์อิศรกษัตริย์"พระองค์มีพระเชษฐาและพระอนุชาร่วมพระราชมารดา รวมทั้งสิ้น 3 พระองค์ ได้แก่ สมเด็จเจ้าฟ้าชาย (สิ้นพระชนม์เมื่อประสูติ) สมเด็จฯ เจ้าฟ้ามงกุฏ และสมเด็จฯ เจ้าฟ้าจุฑามณี (ภายหลังได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ) พระองค์จึงเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าพระองค์แรกที่มีพระชนม์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระองค์ท่านเสด็จสวรรคตวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 รวมพระชนมพรรษา 65 พรรษา
วัดประจำรัชกาล ของพระองค์คือ วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร









พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจักรีบรมนาถฯ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (พ.ศ. 2279 - พ.ศ. 2352 ครองราชย์ พ.ศ. 2325 - พ.ศ. 2352) รัชกาลที่ 1 แห่งราชจักรีวงศ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์ เป็นพระเจ้าแผ่นดินแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อวันที่ 6 เมษายน พุทธศักราช 2325 (ตรงกับ วันเสาร์ เดือน 5 แรม 9 ค่ำ ปีขาล จัตราศก จุลศักราช 1144) ขณะมีพระชนมายุได้ 45 พรรษา

พระราชกรณียกิจ
- สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ เป็นราชธานี
- เริ่มงานสร้างพระนคร ขุดคูเมืองทางฝั่งตะวันออก สร้างกำแพงและป้อมปราการรอบพระนคร
- สร้างพระบรมมหาราชวังและวัดพระศรีรัตนศาสดาราม










เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดีนามเดิมของท่านคือ ม.ร.ว. เปีย มาลากุล เกิดเมื่อ พ.ศ. 2414 เริ่มรับราชการเป็นเสมียนในกรมศึกษาธิการ ต่อมาได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็นหลวงไพศาลศิลปศาสตร์ และได้รับตำแหน่งอธิบดีกรมศึกษาธิการ ท่านเป็นผู้ที่ได้รับการศึกษา ในด้านภาษาไทยมาเป็นอย่างดี มีความรู้แตกฉาน และได้แต่งหนังสือไว้หลายเล่มด้วยกัน ที่รู้จักกันดีคือ "สมบัติผู้ดี" ซึ่งยังประโยชน์แก่กุลบุตรกุลธิดา ได้ยึดถือเป็นตำราที่มีคุณค่ามาจนทุกวันนี้












สมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต
ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 และสมเด็จพระนางเจ้าสุขุมาลศรี ประสูติเมื่อ วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2424 ทรงสำเร็จการศึกษาในวิทยาลัยเสนาธิการ แห่งเยอรมันนี ทรงดำรงตำแหน่งที่สำคัญทางการทหารหลายตำแหน่ง ได้แก่ ผู้บัญชาการทหารเรือ เสนาธิการกระทรวงทหารเรือ เป็นต้น นอกจากนี้ยังทรงพระปรีชาสามารถ ในงานดนตรีเป็นอย่างมาก ทรงนิพนธ์เพลงไว้มากมาย เช่น วอทซ์ปลื้มจิต วอทซ์ชุมพล เพลงสุดเสนาะ เพลงมหาฤกษ์ เพลงมหาโศก ซึ่งใช้บรรเลงในงานศพ ทรงสิ้นพระชนม์เมื่อ วันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2487 ขณะทรงประทับอยู่ที่ประเทศชวา.












หลวงวิจิตรวาทการนามเดิมของท่าน คือ กิมเหลียง วัฒนปดา เกิดเมื่อ วันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2441 ท่านเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ และนักปราชญ์ราชทูตที่มีความสามารถท่านหนึ่งของไทย ท่านมีความรู้เชี่ยวชาญในศิลปะวิชาการทุกด้านทุกสาขา เช่น การทูต การเมือง การปกครอง การศึกษา ปรัชญา จิตวิทยา ประวัติศาสตร์ สังคม ตลอดจนศิลปะ วรรณคดี และการละคร ผลงานของท่าน เช่น ท่านได้ประพันธ์เพลงปลุกใจ ต้นตระกูลไทย เลือดสุพรรณ และท่านยังมีส่วนร่วมที่สำคัญ ในการสร้างโรงละครแห่งชาติจนสำเร็จ ท่านถึงแกอสัญญกรรมเมื่อ วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ.2505.













สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีราเมศ
ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 และพระวิมาดาเธอฯ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ ประสูติเมื่อ วันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2425 ทรงสำเร็จการศึกษา มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ในสาขารัฐศาสตร์การปกครอง และวิชาประวัติศาสตร์ แล้วเสด็จกลับมารับราชการในตำแหน่งผู้ช่วยปลัดทูลฉลอง และเจ้ากรมพลังภังค์(กรมการปกครอง) ต่อมาทรงดำรงค์ตำแหน่งสมุหเทศาภิบาล และอุปราชมณฑลภาคใต้ ในสมัยรัชกาลที่ 6 ทรงตั้งกรมเสือป่ามณฑลนครศรีธรรมราช เพื่อป้องกันรักษาความมั่นคง แห่งราชอาณาจักรจากพวกล่าอาณานิคม ทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย และอภิรัฐมนตรีในสมัยรัชกาลที่ 7 ทรงสิ้นพระชนม์เมื่อ วันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2475






พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศวรวรฤทธิ์พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศวรฤทธิ์ เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 และเจ้าจอมมารดากลิ่น พระนามเดิมว่า พระองค์เจ้ากฤษดาภิหาร ประสูตเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2398 ทรงเป็นต้นราชสกุล กฤษดากร พระองค์ทรงรับราชการในตำแหน่งที่สำคัญทั้งในสมัยรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 เช่น ทรงดำรงตำแหน่งอัครราชทูตประจำประเทศอังกฤษ และสหรัฐฯ ทรงเป็นคอมมิตตีกรมพระนครบาล เป็นเสนาบดี กระทรวงนครบาล และเสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ ในสมัยรัชกาลที่ 5 ทรนงดำรงค์ตำแหน่งสมุหมนตรี เสนากระทรวงมุรธาการ และเสนาบดีที่ปรึกษาในสมัยรัชกาลที่ 6 พระองค์สิ้นพระชนม์เมื่อ วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2468.

















เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 และสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชชนนี ประสูตเมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2402 พระนามเดิมว่า สมเด็จเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ พระองค์ได้ทรงงานสำคัญอันเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติ ไว้มากมาย ดังมีเรื่องเล่าเกี่ยวกับพระองค์ท่านว่า พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 มีพระราชดำรัสสรรเสริญ "ทรงเป็นหลักเมือง ของพระบรมราชวงศ์จักรี" ทรงได้รับตำแหน่งอธิบดีกรมไปรษณีย์ และโทรเลขเป็นพระองค์แรกของประเทศไทย ทรงเสด็จทิวงคต เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2471.






เจ้าพระยายมราชนามเดิมของท่านคือ ปั้น สุขุม เกิดเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2405 ท่านเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัย ของพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นอันมาก จึงมีพระกรุณาโปรดเกล้าให้ท่านเจ้าพระยายมราช ควบคุมการก่อสร้างงานต่างๆมากมาย เช่น การปะปานครหลวง การไฟฟ้ามหานคร ก่อสร้างพระที่นั่งอนันตสมาคม เป็นต้น ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 ท่านได้รับพระราชทาน ตำแหน่งมหาอำมาตย์นายก ซึ่งเป็นตำแหน่งที่สำคัญมาก และไม่มีผู้ใดได้รับพระราชทานอีกเลย ครั้นในสมัยพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จขึ้นครองราชย์ แต่เนื่องด้วยทรงพระเยาว์ สภาผู้แทนราษฏรจึงได้แต่งตั้งคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ โดยมีเจ้าพระยายมราช เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ด้วยท่านหนึ่ง ท่านได้ปฎิบัติภารกิจต่างๆมากมายเป็นอย่างดี จนได้รับการยกย่องให้เป็น "รัฐบุรุษ" ที่สำคัญท่านหนึ่งของไทย.











พระยาเฉลิมอากาศนามเดิมของท่านคือ สุณี สุวรรณประทีป เกิดเมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2403 ท่านได้เข้าเรียนที่โรงเรียน นายร้อยทหารบกจนจบ และได้เข้ารับราชการ พระยาเฉลิมอากาศเป็นผู้ที่มีใจรักในการบิน และท่านเห็นว่าจะเป็นประโยชน์ยิ่งใหญ่ในการปกป้องประเทศชาติ ท่านจึงเริ่มจัดตั้งหน่วยการบินขนาดย่อม ที่มีเครื่องบินเพียง 2-3 ลำ จนกลายเป็นกองทัพอากาศ อันแข็งแกร่งในปัจจุบัน ขนอาจกล่าวได้ว่า ท่านเป็น "บิดาแห่งกองทัพอากาศไทย" ท่านถึงแก่อสัญญกรรม เมื่อ วันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2498


































































































































วันจันทร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

วัฒนธรรมไทย ประเพณีและภูมิปัญญาไทย



วัฒนธรรมไทย ประเพณีและภูมิปัญญาไทย


วัฒนธรรม หมายถึง วีถีการดำรงชีวิตที่ดีงาม ได้รับการสืบทอดจากอดีตสู่ปัจจุบันเป็นผลผลิตของมนุษย์ที่แสดงถึงความเจริญงอกงาม ทั้งด้านวัตถุ แนวคิดจิตใจ วัฒนธรรมในท้องถิ่นจะเป็นเอกลักษณ์ของสังคมท้องถิ่นนั้นๆ วัฒนธรรมคงอยู่ได้เพราะการเรียนรู้ของมนุษย์ตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน และสร้างสรรค์พัฒนาขึ้นใหม่อย่างต่อเนื่อง

วัฒนธรรมไทยที่สำคัญ

วัฒนธรรมไทยที่สำคัญ จนกลายเป็นวัฒนธรรมซึ่งนานาชาติยกย่อง และคนไทยมีความภาคภูมิใจมาจนตราบเท่าทุกวันนี้ ได้แก่




ภาษาไทย ไทยเรามีภาษาและตัวอักษรเป็นของตนเองมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย โดยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ได้ทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นใช้ใน พ.ศ.1826 และได้มีการแก้ไขปรับปรุงและพัฒนาเปลี่ยนแปลงมาตามลำดับ เนื่องจากเราได้มีการติดต่อเกี่ยวกับนานาประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม จึงได้รับวัฒนธรรมภาษาต่างชาติเข้ามาปะปนใช้อยู่ในภาษาไทย แต่ก็ได้มีการดัดแปลงจนกลายเป็นภาษาไทยในที่สุด ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้






ศาสนา พลเมืองไทยส่วนใหญ่ของประเทศเป็นผู้นับถือพระพุทธศาสนา และเป็นศาสนาที่อยู่คู่บ้านบ้านมาช้านานแล้ว ศาสนาจึงมีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์วัฒนธรรมด้านอื่นๆ คนไทยได้ยึดถือเอาหลักคำสอนของพระพุทธศาสนามาเป็นหลักในการดำเนินชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆ ทั้งส่วนรวมและส่วนบุคคล จะมีพิธีทางศาสนาพุทธเกี่ยวข้องอยู่เสมอ








การแต่งกาย การแต่งกายของคนไทยมีแบบฉบับ และมีวิวัฒนาการมานานแล้ว โดยจะมีการแต่งกายที่แตกต่างกัน ตามสมัยและโอกาสต่างๆ โดยมีวิวัฒนาการมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงปัจจุบันนี้คนส่วนใหญ่แต่งกายตามสากลอย่างชาวตะวันตก หรือตามแฟชั่นที่แพร่หลายเข้ามา แต่คนไทยส่วนใหญ่ก็ยังมีจิตใจที่รักในวัฒนธรรมการแต่งกายของไทยแบบดั้งเดิมอยู่ ดังจะเห็นได้จากในงานพิธีกรรมต่างๆ จะมีการรณรงค์ให้ใส่ผ้าไทย หรือชุดไทย หรือรณรงค์ให้ใส่ผ้าไทยในชีวิตประจำวัน ซึ่งนับได้ว่าเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งที่ชาติอื่นให้ความชื่นชม






ศิลปกรรม ถือเป็นภูมิปัญญาไทยที่สำคัญ โดยเป็นผลงานที่สร้างขึ้นเพื่อความสวยงามก่อให้เกิดความสุขทางใจ ส่วนใหญ่จะเป็นงานที่สร้างสรรค์ขึ้นด้วยแรงบันดาลใจจากพุทธศาสนา และเป็นการแสดงความเคารพและจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ ได้แก่ ผลงานที่ปรากฏตามวัดวาอารามต่างๆ เรือนไทยที่มีลักษณะเฉพาะพิเศษ ศิลปกรรมไทยที่สำคัญได้แก่ สถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม นาฏศิลป์ ดุริยางคศิลป์ วรรณกรรม





ประเพณีไทย

ประเพณี หมายถึง สิ่งที่แต่ละสังคมนิยมยึดถือประพฤติปฏิบัติสืบทอดกันมาจนเป็นแบบแผนที่ดีงาม ทั้งนี้การปฏฺบัติตามประเพณีย่อมจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขบ้าง คงไว้บ้าง ประเพณีเป็นสิ่งที่แสดงถึงสัญลักษณ์ของชาติ ไม่ว่าชาติใด ภาษาใด ต้องมีประเพณีประจำท้องถิ่นหรือชุมชน ประจำชาติของตน สามารถจำแนกประเพณีออกได้เป็น 3 ประเภทด้วยกัน คือ



1.จารีตประเพณี ได้แก่ ประเพณีที่สังคม ปฏิบัติกันมานานตั้งแต่บรรพชน ถ้าใครฝ่าฝืน งดเว้นไม่ประพฤติปฏิบัติตามถือว่าเป็นความผิด
2.ขนบธรรมเนียมประเพณี ได้แก่ ประเพณีที่สังคมที่เป็นระเบียบแบบแผนที่ต้องปฏิบัติตามเป็นที่รับรู้ต้นทางสังคม เช่น ระเบียบของโรงเรียน ชุมชน เป็นต้น
3.ธรรมเนียมประเพณี ได้แก่ ประเพณีที่เป็นเรื่องธรรมดาสามัญ ใครจะฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติ ไม่ถือว่าผิดศีลธรรม เป็นแต่เพียงสิ่งที่นิยมกันว่ามีคนประพฤติปฏิบัติ มิได้วางไว้เป็นแบบแผนเป็นแต่เพียงการเห็นว่าดี เห็นสมควรปฏิบัติตามต่อๆ กันมา เช่น การต้อนรับแขก การปฏิบัติตนในฐานะเจ้าของบ้าน การพูดจาทักทาย เป็นต้น


เราอาจแบ่งประเภทของประเพณีไทยออกได้เป็น 4 ประเภท คือ

1.ประเพณีที่เกี่ยวกับชีวิตหรือประเพณีครอบครัว ได้แก่ประเพณีการเกิด ประเพณีการบวช ประเพณีการแต่งงาน ประเพณีงานศพ

2. ประเพณีท้องถิ่นของชุมชนหรือประเพณีส่วนรวมตามเทศกาล ประเพณีการชักพระ ประเพณีสงกรานต์ ประเพณีงานบุญบั้งไฟ ประเพณีการรับประทานอาหาร ประเพณีท้องถิ่น ได้แก่ ประเพณีที่เกียวกับอาชีพ เช่น ภาคใต้ ได้แก่ การลงขันลงหิน การทำขันและเครื่องลงยา การทำผ้าบาติก การทำโสร่งปาเต๊ะ ประเพณีการแต่งกาย ประเพณีการแต่งกาย ประเพณีการละเล่นในงานนักขัตฤกษ์ เช่น การละเล่นหนังตะลุง มโนราห์ เป็นต้น
3. ประเพณีราชการ คือประเพณีที่ทางราชการเป็นผู้กำหนดขึ้น จำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ รัฐพิธีและพระราชพิธี
รัฐพิธี เป็นพิธีประจำปีที่ทางราชการกำหนดขั้น โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นองค์ประธาน หรือโปรดเกล้าฯ ให้พระราชวงศ์เสด็จไปแทนพระองค์ ได้แก่ รัฐพิธีที่ระลึกวันจักรี ตรงกับวันที่ 6 เมษายน ของทุกปี รัฐพิธีวันพระราชทานรัฐธรรมนูญ ตรงกับวันที่ 10 ธันวาคม ของทุกปี
4.พระราชพิธี หมายถึง พิธีที่จัดขึ้นอันเกี่ยวเนื่องกับพระมหากษัตริย์ เป็นพิธีหลวง ได้แก่ พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา พระราชพิธีฉัตรมงคล พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ พระราชพิธีกาญจนาภิเษก(วโรกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติครบ 50 ปี ในวันที่ 9 มิถุนายน 2539)


ภูมิปัญญาไทย

ความหมาย ความรู้ ความสามารถ วิธีการ ผลงานที่คนไทยได้ค้นคว้า รวบรวม และจัดเก็บเป็นความรู้ ถ่ายทอดปรับปรุงจากคนรุ่นหนึ่งมาสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง จนเกิดเป็นผลผลิตที่ดีงาม งดงาม มีคุณค่ามีประโยชน์ สามารถนำมาแก้ปัญหาและพัฒนาชีวิตได้ ในแต่ละท้องถิ่นจะมีบุคคลผู้มีความรู้ความสามารถที่เรียนรู้มาจากบรรพบุรุษ พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยายหรือผู้รู้ในท้องถิ่นต่างๆ ซึ่งความรู้เหล่านี้เป็นความรู้ที่มีคุณธรรม สอนให้คนพึ่งพาธรรมชาติ โดยไม่ทำลายธรรมชาติ และสอนให้รู้จักเอื้ออาทรต่อคนอื่น

ตัวอย่างภูมิปัญญาไทยที่ควรรู้

ด้านภาษา และวรรณธรรม ได้แก่ สุภาษิต คำพังเพย เพลงพื้นบ้าน ปริศนาคำทายต่างๆ
ด้านประเพณี ได้แก่ กิจกรรมที่เป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างคนในครอบครัว ชุมชน โดยการแสดงออกทางประเพณีพื้นบ้าน การละเล่นพื้นบ้านในท้องถิ่นต่างๆ เช่น การรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ การทำบุญในวันสำคัญทางศาสนา ประเพณีวันลอยกระทง วันเข้าพรรษา วันสงกรานต์ การละเล่นพื้นบ้านในแต่ละท้องถิ่น เช่น การระบำรำฟ้อนประเภทต่างๆ เซิ้ง กลองยาว เพลงอีแซว หมอลำ มโนราห์ ซึ่งแต่ละท้องถิ่นจะมีความแตกต่างกัน
ด้านศิลปวัตถุและศิลปกรรม ได้แก่ จิตรกรรมฝาผนังตามวัดต่างๆ การทำเครื่องปั้นดินเผาไปแกะสลัก หนังตะลุง เป็นต้น
ด้านการแต่งกาย ได้แก่ การทอผ้าไหม ทอผ้าฝ้าย ซึ่งในแต่ละท้องถิ่นจะมีลักษณะและความสวยงามที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของแต่ละท้องถิ่น

ด้านอาหาร ได้แก่ การจัดประดับตกแต่งอาหารให้มีความสวยงาม ด้วยการแกะสลักด้วยความประณีต การจัดเลี้ยงอาหารแบบขันโตกของทางเหนือ ด้านอาหารที่ขึ้นชื่อของไทย คือ ต้มยำกุ้ง ผัดไทย แกงเลียง ข้าวยำปักษ์ใต้ ข้าวซอย ส้มตำ เป็นต้น
ด้านเครื่องมือเครื่องใช้ในการทำมาหากิน ได้แก่ การทำระหัดน้ำ การประดิษฐ์กระเดื่องสำหรับตำข้าว การทำเครื่องมือจับสัตว์ เช่น แห อวน ยอ เป็นต้น
ด้านที่อยู่อาศัย ได้แก่ การคิดรูปแบบและวัสดุที่ใช้ในการสร้างบ้านที่สัมพันธ์กับลักษณะภูมิประเทศ และลักษณะภูมิอากาศ เช่น รูปแบบบ้านทรงไทยโบราณ ซึ่งมีใต้ถุนสูง และหลังคามีหน้าจั่วสูง ซึ่งเหมาะกับภูมิอากาศในประเทศไทย เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก
ด้านสมุนไพรและการแพทย์แผนไทย ได้แก่ การคิดค้นนำส่วนต่างๆ ของพืชสมุนไพร นอกจากมาเป็นอาหารแล้ว ยังนำมาใชสกัดเป็นยารักษาโรค เช่น ขิง กระชายดำ พริกไทย เป็นต้น นอกจากนี้พืชสมุนไพรยังนำมาใช้เป็นยาฆ่าแมลง เช่น เปลือก ใบและผลสะเดา ตะไคร้หอม นอกจากนี้การแพทย์แผนไทยแต่ดั้งเดิมมามีการนวดจุดเพื่อรักษาโรคต่างๆ หรือแม้แต่ท่าฤาษีดัดตน เพื่อรักษาสุขภาพ
ร่างกายให้แข็งแรง เป็นต้น