จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

หน่วยที่4 บุคคลสำคัญ

บุคคลสำคัญ



พระยากัลยาณไมตรี เกิดเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๘ ที่มลรัฐเพนซิลวาเนีย สหรัฐอเมริกา สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และได้เป็นศาสตราจารย์วิชากฎหมายของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ ก่อนที่จะเข้ามารับราชการในประเทศไทยในตำแหน่งที่ปรึกษากระทรวงการต่างประเทศ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๖๖ ถึง พ.ศ. ๒๔๖๘
ดร.แซร์ มีบทบาทสำคัญในการปลดเปลื้องข้องผูกพันตามสนธิสัญญาเบาว์ริงที่ไทยทำไว้กับประเทศอังกฤษในสมัยรัชกาลที่ ๔ และสนธิสัญญาลักษณะเดียวกันที่ไทยทำไว้กับประเทศอื่น ๆ ซึ่งฝ่ายไทยเสียเปรียบมากในเรื่องที่คนในบังคับต่างชาติไม่ต้องขึ้นศาลไทย และไทยจะเก็บภาษีจากต่างประเทศเกินร้อยละ ๓ ไม่ได้ ประเทศไทยพยายามหาทางแก้ไขสนธิสัญญาเสียเปรียบนี้มาโดยตลอด ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ มาจนถึงสมัยรัชกาลที่ ๖ ปรากฏว่ามีเพียง ๒ ประเทศที่ยอมแก้ไขให้โดยยังมีข้อแม้บางประการ



ดร.แดน บีช แบรดเลย์ ชาวไทยเรียกกันว่า หมอบรัดเลย์ หรือ ปลัดเล เป็นชาวนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา เกิดเมื่อ พ.ศ. ๒๓๔๕ หมดบรัดเลย์เดินทางเข้ามายังสยาม เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๘ โดยพักอาศัยอยู่กับมิชชันนารี ชื่อ จอห์นสัน ที่วัดเกาะ เมื่อเข้ามาอยู่เมืองไทย ในตอนแรกหมอบรัดเลย์เปิดโอสถศาลาขึ้นที่ข้างใต้วัดเกาะ รับรักษาโรคให้แก่ชาวบ้านแถวนั้น พร้อมทั้งสอนศาสนาคริสต์ให้แก่ชาวจีนที่อยู่ในเมืองไทยส่วนซาราห์ ภรรยาของหมอเป็นครูสอนภาษาอังกฤษ ต่อมาหมอบรัดเลย์ย้ายไปอยู่แถวโบสถ์วัดซางตาครูส ขยายกิจการจากรับรักษาโรคเป็นโรงพิมพ์ โดยรับพิมพ์หนังสือเกี่ยวกับศาสนาคริสต์แจก และพิมพ์ประกาศของทางราชการ เรื่องห้ามนำฝิ่นเข้ามาในประเทศสยาม เป็นฉบับแรก จำนวน ๙,๐๐๐ แผ่น เมื่อวันที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๓๘๒ อีกด้วย กิจการโรงพิมพ์นี้นับเป็นประโยชน์สำหรับคนไทยมาก เอกสารทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญซึ่งคนรุ่นหลังได้ศึกษาส่วนหนึ่งก็มาจากโรงพิมพ์ของหมอบรัดเลย์






พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฏฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็น รัชกาลที่ 4 แห่งราชจักรีวงศ์ ทรงมีพระนามเดิมว่า "เจ้าฟ้ามงกุฎ สมมติเทวาวงศ์พงษ์อิศรกษัตริย์"พระองค์มีพระเชษฐาและพระอนุชาร่วมพระราชมารดา รวมทั้งสิ้น 3 พระองค์ ได้แก่ สมเด็จเจ้าฟ้าชาย (สิ้นพระชนม์เมื่อประสูติ) สมเด็จฯ เจ้าฟ้ามงกุฏ และสมเด็จฯ เจ้าฟ้าจุฑามณี (ภายหลังได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ) พระองค์จึงเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าพระองค์แรกที่มีพระชนม์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระองค์ท่านเสด็จสวรรคตวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 รวมพระชนมพรรษา 65 พรรษา







พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจักรีบรมนาถฯ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (พ.ศ. 2279 - พ.ศ. 2352 ครองราชย์ พ.ศ. 2325 - พ.ศ. 2352) รัชกาลที่ 1 แห่งราชจักรีวงศ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์ เป็นพระเจ้าแผ่นดินแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อวันที่ 6 เมษายน พุทธศักราช 2325 (ตรงกับ วันเสาร์ เดือน 5 แรม 9 ค่ำ ปีขาล จัตราศก จุลศักราช 1144) ขณะมีพระชนมายุได้ 45 พรรษา









เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดีนามเดิมของท่านคือ ม.ร.ว. เปีย มาลากุล เกิดเมื่อ พ.ศ. 2414 เริ่มรับราชการเป็นเสมียนในกรมศึกษาธิการ ต่อมาได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็นหลวงไพศาลศิลปศาสตร์ และได้รับตำแหน่งอธิบดีกรมศึกษาธิการ ท่านเป็นผู้ที่ได้รับการศึกษา ในด้านภาษาไทยมาเป็นอย่างดี มีความรู้แตกฉาน และได้แต่งหนังสือไว้หลายเล่มด้วยกัน ที่รู้จักกันดีคือ "สมบัติผู้ดี" ซึ่งยังประโยชน์แก่กุลบุตรกุลธิดา ได้ยึดถือเป็นตำราที่มีคุณค่ามาจนทุกวันนี้









                                                 
                                                         
                                                       สมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต

ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 และสมเด็จพระนางเจ้าสุขุมาลศรี ประสูติเมื่อ วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2424 ทรงสำเร็จการศึกษาในวิทยาลัยเสนาธิการ แห่งเยอรมันนี ทรงดำรงตำแหน่งที่สำคัญทางการทหารหลายตำแหน่ง ได้แก่ ผู้บัญชาการทหารเรือ เสนาธิการกระทรวงทหารเรือ เป็นต้น นอกจากนี้ยังทรงพระปรีชาสามารถ ในงานดนตรีเป็นอย่างมาก ทรงนิพนธ์เพลงไว้มากมาย เช่น วอทซ์ปลื้มจิต วอทซ์ชุมพล เพลงสุดเสนาะ เพลงมหาฤกษ์ เพลงมหาโศก ซึ่งใช้บรรเลงในงานศพ ทรงสิ้นพระชนม์เมื่อ วันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2487 ขณะทรงประทับอยู่ที่ประเทศชวา.










หลวงวิจิตรวาทการนามเดิมของท่าน คือ กิมเหลียง วัฒนปดา เกิดเมื่อ วันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2441 ท่านเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ และนักปราชญ์ราชทูตที่มีความสามารถท่านหนึ่งของไทย ท่านมีความรู้เชี่ยวชาญในศิลปะวิชาการทุกด้านทุกสาขา เช่น การทูต การเมือง การปกครอง การศึกษา ปรัชญา จิตวิทยา ประวัติศาสตร์ สังคม ตลอดจนศิลปะ วรรณคดี และการละคร ผลงานของท่าน เช่น ท่านได้ประพันธ์เพลงปลุกใจ ต้นตระกูลไทย เลือดสุพรรณ และท่านยังมีส่วนร่วมที่สำคัญ ในการสร้างโรงละครแห่งชาติจนสำเร็จ ท่านถึงแกอสัญญกรรมเมื่อ วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ.2505.










                                                        
                                                          สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีราเมศ

ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 และพระวิมาดาเธอฯ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ ประสูติเมื่อ วันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2425 ทรงสำเร็จการศึกษา มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ในสาขารัฐศาสตร์การปกครอง และวิชาประวัติศาสตร์ แล้วเสด็จกลับมารับราชการในตำแหน่งผู้ช่วยปลัดทูลฉลอง และเจ้ากรมพลังภังค์(กรมการปกครอง) ต่อมาทรงดำรงค์ตำแหน่งสมุหเทศาภิบาล และอุปราชมณฑลภาคใต้ ในสมัยรัชกาลที่ 6 ทรงตั้งกรมเสือป่ามณฑลนครศรีธรรมราช เพื่อป้องกันรักษาความมั่นคง แห่งราชอาณาจักรจากพวกล่าอาณานิคม ทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย และอภิรัฐมนตรีในสมัยรัชกาลที่ 7 ทรงสิ้นพระชนม์เมื่อ วันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2475










เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 และสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชชนนี ประสูตเมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2402 พระนามเดิมว่า สมเด็จเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ พระองค์ได้ทรงงานสำคัญอันเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติ ไว้มากมาย ดังมีเรื่องเล่าเกี่ยวกับพระองค์ท่านว่า พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 มีพระราชดำรัสสรรเสริญ "ทรงเป็นหลักเมือง ของพระบรมราชวงศ์จักรี" ทรงได้รับตำแหน่งอธิบดีกรมไปรษณีย์ และโทรเลขเป็นพระองค์แรกของประเทศไทย ทรงเสด็จทิวงคต เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2471.










เจ้าพระยายมราชนามเดิมของท่านคือ ปั้น สุขุม เกิดเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2405 ท่านเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัย ของพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นอันมาก จึงมีพระกรุณาโปรดเกล้าให้ท่านเจ้าพระยายมราช ควบคุมการก่อสร้างงานต่างๆมากมาย เช่น การปะปานครหลวง การไฟฟ้ามหานคร ก่อสร้างพระที่นั่งอนันตสมาคม เป็นต้น ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 ท่านได้รับพระราชทาน ตำแหน่งมหาอำมาตย์นายก ซึ่งเป็นตำแหน่งที่สำคัญมาก และไม่มีผู้ใดได้รับพระราชทานอีกเลย ครั้นในสมัยพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จขึ้นครองราชย์ แต่เนื่องด้วยทรงพระเยาว์ สภาผู้แทนราษฏรจึงได้แต่งตั้งคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ โดยมีเจ้าพระยายมราช เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ด้วยท่านหนึ่ง ท่านได้ปฎิบัติภารกิจต่างๆมากมายเป็นอย่างดี จนได้รับการยกย่องให้เป็น "รัฐบุรุษ" ที่สำคัญท่านหนึ่งของไทย.









พระยาเฉลิมอากาศนามเดิมของท่านคือ สุณี สุวรรณประทีป เกิดเมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2403 ท่านได้เข้าเรียนที่โรงเรียน นายร้อยทหารบกจนจบ และได้เข้ารับราชการ พระยาเฉลิมอากาศเป็นผู้ที่มีใจรักในการบิน และท่านเห็นว่าจะเป็นประโยชน์ยิ่งใหญ่ในการปกป้องประเทศชาติ ท่านจึงเริ่มจัดตั้งหน่วยการบินขนาดย่อม ที่มีเครื่องบินเพียง 2-3 ลำ จนกลายเป็นกองทัพอากาศ อันแข็งแกร่งในปัจจุบัน ขนอาจกล่าวได้ว่า ท่านเป็น "บิดาแห่งกองทัพอากาศไทย" ท่านถึงแก่อสัญญกรรม เมื่อ วันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2498